วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มาตรา ห้างหุ้นส่วน- บริษัท

มาตราย่อ หุ้นส่วนและบริษัท
หุ้นส่วนบริษัท
มาตรา 1022   เมื่อได้พิมพ์โฆษณาดั่งนั้นแล้ว ท่านให้ถือว่าบรรดา เอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียน อันได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้น เป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงไม่เลือกว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วน หรือด้วยบริษัทนั้นหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง

หุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1025    อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภท ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด
มาตรา 1031    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้น ของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียน ไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมา ภายในเวลาอันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็น พร้อมกันหรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญา ให้เอาผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้
มาตรา 1033    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการ ห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใด ซึ่งผู้ เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้


ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน กับคนภายนอก
มาตรา 1049    ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอก ในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่
มาตรา 1050    การใด ๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไป ในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้นท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกัน โดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น เพราะจัดการไป เช่นนั้น
มาตรา 1051    ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้อง รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป
มาตรา 1052    บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิด ในหนี้ใด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ด้วย
มาตรา 1053    ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้น ถึงแม้จะมีข้อ จำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคน อื่น ๆ ท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผู้ถึงบุคคลภายนอกไม่
มาตรา 1054    บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดีด้วย ลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็น ชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เข้าแสดงว่าตนเป็น หุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดา หนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน
                    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคง ค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี หรือ ใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบ
อยู่ด้วยก็ดี หาทำให้ความรับผิดมีแก่กอง ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใด ๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังมรณะนั้นไม่
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน)
มาตรา 1068    ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วน นั้นย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน
มาตรา 1070    เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้
มาตรา 1072    ถ้าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังมิได้เลิกกันตราบใด เจ้าหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัวย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงในผลกำไร หรือเงินซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นเท่านั้น ถ้า ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดจนถึงหุ้นของ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอันมีในสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

มาตรา 1077    อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
   (1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียง ไม่ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ
   (2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน ใน บรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง
มาตรา 1079    อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด ย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด จำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน

มาตรา 1080    บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดๆ หากมิ ได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย
                   ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นมีอยู่หลายคนด้วยกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นวิธีบังคับในความ เกี่ยวพันระหว่างคนเหล่านั้นเอง และความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนเหล่านั้นกับห้างหุ้นส่วน
มาตรา 1082    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอม โดยแสดงออกชัด หรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดั่งว่า เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น
                      แต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองนั้น ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วน เช่นนี้ท่านให้คงบังคับตามสัญญาหุ้นส่วน
มาตรา 1086    ข้อซึ่งตกลงกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย เพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเภททรัพย์สินที่ลงหุ้น หรือเพื่อจะลดจำนวน ลงหุ้นแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนหนึ่งคนใดนั้น ท่านว่ายังไม่เป็นผลแก่บุคคลภายนอกจนกว่าจะได้จดทะเบียน
                    เมื่อได้จดทะเบียนแล้วไซร้ ข้อตกลงนั้น ๆ ก็ย่อมมีผลแต่เพียง เฉพาะแก่หนี้อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังเวลาที่ได้จด ทะเบียนแล้วเท่านั้น
มาตรา 1087    อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านว่าต้องให้แต่เฉพาะ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา 1088    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดได้ เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิด รวมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน
                    แต่การออกความเห็นและแนะนำก็ดี ออกเสียงเป็นคะแนนนับใน การตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามกรณีที่มีบังคับไว้ในสัญญาหุ้นส่วน นั้นก็ดี ท่านหานับว่าเป็นสอดเข้าเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน นั้นไม่
มาตรา 1090    ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะประกอบ การค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์บุคคล ภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับการค้าขายของห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม
มาตรา 1091    ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้น ของตนปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆ ก็โอนได้
มาตรา 1095    ตราบใดห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมิได้เลิกกันตราบนั้น เจ้าหนี้ของห้างย่อมไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัด ความรับผิดได้
                     แต่เมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นได้เลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ของห้างมีสิทธิฟ้องร้อง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เพียงจำนวนดั่งนี้ คือ
(1) จำนวนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่าที่ยังค้างส่งแก่ห้างหุ้นส่วน
(2) จำนวนลงหุ้นเท่าที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของ ห้างหุ้นส่วน
(3) จำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ยซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับไปแล้วโดยทุจริตและฝ่าฝืนต่อบท มาตรา 1084

บริษัทจำกัด

มาตรา 1105    อันหุ้นนั้น ท่านห้ามมิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่า ของหุ้นที่ตั้งไว้
                    การออกหุ้นโดยราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้นั้นหากว่าหนังสือ บริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ ก็ให้ออกได้ และในกรณีเช่นนั้นต้องส่งใช้ จำนวนที่ล้ำมูลค่าพร้อมกันไปกับการส่งใช้เงินคราวแรก
                    อนึ่ง เงินส่งใช้ค่าหุ้นคราวแรกนั้น ต้องมิให้น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า แห่งมูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้
มาตรา 1108    กิจการอันจะพึงทำในที่ประชุมตั้งบริษัทนั้น คือ
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่าย อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเขาต้องออกไปในการเริ่มก่อบริษัท
(6) เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัท และวางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย
มาตรา 1112    ถ้าการจดทะเบียนมิได้ทำภายในสามเดือนนับแต่ประชุม ตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่าบริษัทนั้นเป็นอันไม่ได้ตั้งขึ้น และบรรดาเงินที่ได้รับ ไว้จากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นต้องใช้คืนเต็มจำนวนมิให้ลดเลย
                   ถ้ามีจำนวนเงินเช่นว่านั้นค้างอยู่มิได้คืนในสามเดือนภายหลังการประชุม ตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่ากรรมการของบริษัทต้องรับผิดร่วมกันที่จะใช้ทั้งต้นเงิน และดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาสิ้นกำหนดสามเดือนนั้น
                  แต่ถ้ากรรมการคนใดพิสูจน์ได้ว่า การที่เงินขาดหรือที่ใช้คืนช้าไปมิได้ เป็นเพราะความผิดของตนไซร้ กรรมการคนนั้นก็ไม่ต้องรับผิดในการใช้ต้น เงินหรือดอกเบี้ย
มาตรา 1113    ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกันและโดยไม่จำกัด ในบรรดาหนี้และการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทมิได้อนุมัติ และแม้จะ ได้มีอนุมัติก็ยังคงต้องรับผิดอยู่เช่นนั้นไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท
หุ้นส่วนและผู้ถือหุ้น
มาตรา 1119    หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้น ซึ่งออกตามบทบัญญัติ มาตรา 1108 อนุ มาตรา (5) หรือ มาตรา 1221
                      ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่




วิธีจัดการบริษัทจำกัด
มาตรา 1145    จำเดิมแต่ได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ท่านห้ามมิให้ ตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความใน หนังสือบริคณห์สนธิแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เว้นแต่จะได้มีการลงมติพิเศษ

กรรมการ
มาตรา 1151    อันผู้เป็นกรรมการนั้น เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจจะตั้งหรือถอนได้
มาตรา 1155    ถ้าตำแหน่งว่างลงในสภากรรมการเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามเวรไซร้ ท่านว่ากรรมการจะเลือกผู้อื่นตั้งขึ้น ใหม่ให้เต็มที่ว่างก็ได้ แต่บุคคลที่ได้เป็นกรรมการใหม่เช่นนั้น ให้มีเวลา อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่กรรมการผู้ออกไปนั้นชอบที่ จะอยู่ได้
ประชุมใหญ่
มาตรา 1175    คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ทุกคราวนั้น ให้ ลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่ง ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือ หุ้นทุกคนบรรดามีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อย กว่าเจ็ดวัน
                   ในคำบอกกล่าวนั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการ ที่จะได้ประชุมปรึกษากันนั้นด้วย
มาตรา 1178    ในการประชุมใหญ่ ถ้าไม่มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมรวม กันแทนหุ้นได้ถึงจำนวนหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัทเป็นอย่างน้อยแล้ว ท่านว่าที่ประชุมอันนั้นจะปรึกษากิจการอันใดหาได้ไม่
มาตรา 1179    การประชุมใหญ่เรียกนัดเวลาใด เมื่อล่วงเวลานัดนั้นไป แล้วถึงชั่วโมงหนึ่ง จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าประชุมยังไม่ครบถ้วนเป็น องค์ประชุมดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1178 นั้นไซร้ หากว่าการประชุม ใหญ่นั้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ ท่านให้เลิกประชุม
                 ถ้าการประชุมใหญ่นั้นมิใช่ชนิดซึ่งเรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอไซร้ ท่านให้เรียกนัดใหม่อีกคราวหนึ่งภายในสิบสี่วัน และการประชุมใหญ่ ครั้งหลังนี้ท่านไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์ประชุม
มาตรา 1185    ผู้ถือหุ้นคนใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่ง ที่ประชุมจะลงมติ ท่านห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนนั้นออกเสียงลงคะแนนด้วย ในข้อนั้น
มาตรา 1195    การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของ บริษัทก็ดีเมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้วให้ศาลเพิก ถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย แต่ต้องร้องขอภายใน กำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น
การเพิ่มและลดทุน
มาตรา 1220    บริษัทจำกัดอาจเพิ่มทุนของบริษัทขึ้นได้ด้วยออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 1224    บริษัทจำกัดจะลดทุนของบริษัทลงด้วยลดมูลค่าแต่ ละหุ้น ๆ ให้ต่ำลง หรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงโดยมติพิเศษของประชุม ผู้ถือหุ้นก็ได้
มาตรา 1225    อันทุนของบริษัทนั้นจะลดลงไปให้ถึงต่ำกว่าจำนวนหนึ่ง ในสี่ของทุนทั้งหมดหาได้ไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น