วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

"นิติราษฎร์"กับข้อเสนอใหม่ว่าด้วย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่ม "นิติราษฎร์" (นิติราษฎร์เพื่อราษฎร) ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา ได้แก่ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, อ.สาวตรี สุขศรี, อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล และมีอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อ.ประจำภาคประวัติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนการเสวนาด้วย

 
อ. วรเจตน์ กล่าวว่า ในแง่ของปัญหาที่เกิดขึ้นกับบทมาตรา 112 ปัญหาที่เห็นได้ง่ายที่สุดคือ ระดับของอัตราโทษ ซึ่งต้องยอมรับว่าโทษมีความรุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับโทษที่เกิดในลักษณะเดียวกันในก่อนหน้านี้ ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างค่อนข้างมาก เท่าที่ค้นข้อมูลพบว่าพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท นั้นกำหนดไว้ว่ามีโทษ จำคุกไม่เกินสามปี ปรับเป็นเงินไม่เกิน 1,500 บาท ตัวนี้เป็นกฎตัวแรก ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ศก 118  มาในรศ. 127 ก็โทษเพิ่มขึ้นไปเล็กน้อยเป็นไม่เกินเจ็ดปี

อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายอาญาในปัจจุบันที่มีการบัญญัติ มาตรา 112 นั้น โทษที่มีการบัญญัติในครั้งแรกไม่มีบทลงโทษขั้นต่ำแต่ใช้จำคุกไม่เกินเจ็ดปี แต่ไปแก้ไขหลัง ตุลาคม พ.ศ. 2519 กฎหมาย ปัจจุบันสังเกตได้ว่า บทลงโทษ อย่างต่ำต้อง 3 ปี หมายความว่าศาลมีดุลยพินิจให้อยู่ในช่วงกว้างของโทษคือ 12  ปี ต่างจากช่วงแรกที่มีโทษขั้นต่ำ ศาลจะสั่งน้อยเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งปัจจุบันโทษกำหนดเอาไว้สูง กล่าวคือ ศาลต้องการจะลงโทษปรับก็ทำไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่เปิดช่อง จึงต้องลงโทษอย่างน้อยสามปี

ความไม่สมเหตุผลของโทษคือ แต่เดิมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โทษยังเป็นไม่เกิน 3 ปี แต่ในระบอบประชาธิปไตยกลับกำหนดโทษถึง 3-15 ปี

ประการต่อมาคือ การไม่มีเหตุยกเว้นความผิด ในทางกฎหมายบุคคลธรรมดามีกำหนดข้อยกเว้นไว้ โดยการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดานั้นทำเพื่อการป้องกันตนไม่มีความผิด แต่ขณะที่การหมิ่นประมาทกษัตริย์นั้นไม่ได้กำหนดเหตุยกเว้นความผิดเอาไว้ แปลว่าการติชมด้วยความเป็นธรรมก็สุ่มเสี่ยงต่อการเข้าองค์ประกอบความผิด ซึ่งเป็นปัญหาในทางกฎหมายอาญาด้านสารบัญญัติ

ในทางกฎหมายอาญาวิธีสบัญญัติ เวลาที่มีการพิจาณาคดีศาล  ศาลเองได้ใช้บทบัญญัติในการดำเนินคดีเป็นการลับ เพื่อประโยชน์ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี หรือป้องกันความลับไม่ให้เผยแพร่ไป หนำซ้ำยังปรากฎว่าคดีแบบนี้อย่าง กรณี"ดา ตอร์ปิโด" ที่ทนายของคุณดา ได้หยิบยก ประเด็นต่อสู้ว่า มาตรา 117 ขัดต่อรฐธรรมนูญ ซึ่งตรงนี้คือปัญหาในระดับตัวบท

ปัญหาที่สำคัญกว่าตัวบทเป็นปัญหาในระดับอุดมการณ์ พบว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทเป็นความผิดที่มีมาแต่เดิมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีความแตกต่างกับไอเดียประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นในแง่ตัวบท ตัวกฎหมายนั้นไม่มีชีวิตแต่ถูกใช้โดยองค์กร ที่มีอำนาจในการตีความ ซึ่งอาจไปในทางรุนแรงและร้ายกาจได้ องค์กรเหล่านี้เป็นคนให้ความหมายว่าหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่น แต่การให้ความหมายของคนให้ความหมายสัมพันธ์กับสำนึกของคนให้ความหมายด้วย  เมื่อไม่เข้าใจความหมายในการปกครองก็มีผลต่อสำนึกจึงส่งผลต่อการตีความ

ถามว่าทำไมจึงเกิดอุดมการณ์แบบนี้ อยากชี้ให้เห็นว่า ในเชิงอุดมการณ์เรามีอุดมการณ์หลักคือประชาธิปไตย แต่การพูดถึงเรื่องสถาบันในสภาอาจทำไม่ได้ ไม่บังควรที่จะพูดถึง มันสะท้อนวิธีคิดอุดมการณ์ผ่านกลไกรัฐมาอย่างยาวนาน เรื่องการจัดการความผิดไม่สามารถทำได้ในแง่ตัวบท แต่อาจเชื่อมโยงไปถึงอุดมการณ์

ในแง่ทางวิชาการ การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์เป็นเรื่องใหญ่ และยาก แต่ควรจะทำ เป็นการสู้กันของสำนึกสองประการ ซึ่งต้องเอาเหตุผลว่ากัน แต่หลายคนเอาอารมณ์ความรู้สึกมาใส่ ในวิชานิติศาสตร์การต่อสู้ในแง่อุดมการณ์เป็นเรื่องยาก คดีบางคดีที่เกิดในศาลปกครอง ศาลปกครองที่ดำเนินกรณี ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ( JTEPA)มีคนไปฟ้องศาลปกครอง ศาลตัดสินว่าฟ้องไม่ได้เพราะไม่อยู่ในอำนาจ แต่ในคดีลงนามความเข้าใจร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งคุณนพดล ปัทมะ ถูกฟ้อง  ศาลปกครองกลับรับพิจารณา   แสดงให้เห็นว่ามีวิธีคิดเบื้องหลังที่เป็นปัญหา การทำให้ไอเดียของคนขยับเข้าไปใกล้กับปชต. ปัญหาก็จะลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดไป เรื่องตัวบทมีความสำคัญ การขยับขับเคลื่อนอาจช่วยเรื่องอุดมการณ์ได้

กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญหาที่พบเป็นปัญหาสองระดับซ้อนกันคือตัว "บท" และ"อุดมการณ์" ที่เป็นตัวกำกับการตีความขององค์กรในกระบวนยุติธรรม การแก้ปัญหาต้องแก้ไปพร้อมกันหลายวิธี ที่สุดแล้วถ้าจะมีอยู่ก็จะมีอยู่โดยสอดรับกับอุดมการณ์ในระบอบประชาธิปไตย

 
อ.ปิยบุตร นำเสนอว่า ประเด็นกฎหมายของอุดมการณ์ของผู้ดำเนินกฎหมายนั้น กฎหมายไม่มีวัตถุประสงค์ของมันเอง แง่มุมความเป็นกฎหมายมันไปสร้างอุดมการณ์ เวลาเราพูดถึงกฎหมายนั้น เรานึกว่าข้อพิพาทยุติได้ด้วยกฎหมาย กฎหมายต้องมีการบังคับ เป็นบรรทัดฐานของสังคม ความเป็นกฎหมายต้องย้ำเรื่องศาล ตุลาการ เป็นอิสระ กฎหมายเป็นแหล่งที่มาของความชอบธรรม

แง่มุมที่สองคืออุดมการณ์ไปครอบงำกฎหมาย  และผู้ปฎิบัติทางกฎหมาย เวลาจะดำเนินการใดๆก็จะทำโดยสอดรับกับอุดมการณ์โยงที่เขาอาจไม่รู้ตัวเอง เพราะฉะนั้น อุดมกาณณ์จึงมีความสำคัญกับกฎหมาย ในสังคมปัจจุบันที่บรรดาผู้ปฎิบัติทางกฎหมายถูกครอบงำทางอุดมการณ์ ก็จะไม่มีทางเห็นการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญใดๆ

ความผิดฐานละเมิดนั้นมีมาแต่โบราณ เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำให้องค์อธิปัตย์มีความศักดิ์สิทธิ์ ทำมากเข้าก็เกิดพวกนักปรัชญาที่เริ่มวิจารณ์ มีงานเขียนหลายงาน สุดท้ายคนที่จะวินิจฉัยจะเป็นความสมดุลระหว่างชื่อเสียง และเกียรติยศ มาชนกับ"เสรีภาพในความคิดเห็น"

ตัวอย่างของการหมิ่นในต่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็นสามรูปแบบคือ ประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นประมาทแต่ไม่นำมาใช้ เช่นเดนมาร์ก เวลาที่มีการพูดหมิ่นให้ไปใช้กฎหมายแบบคนธรรมดา มีโทษจำคุกไม่เกินสี่เดือน แต่อาจเพิ่มโทษเป็นสองเท่าเมื่อคนที่ถูกดูหมิ่นเป็นกษัตรย์ แต่จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าไม่เคยมีการเพิ่มโทษเลยจนกระทั่งมีกลุ่มกรีนพีช บุกงานเลี้ยงก็อาจโดนเป็นกลุ่มแรก สองคือ มีแต่เอามาใช้เป็นครั้งคราว แค่โทษปรับ เช่น ฮอลแลนด์ ที่ไม่ใช้มานานแล้ว แต่เมื่อปี 2007 ก็เอามาใช้ในกรณีที่ดูหมิ่นและมีการว่ากล่าวแบบชัดเจน สามคือ ประเทศที่มีกฎหมายความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐ และนำมาใช้ลงโทษจำคุกสม่ำเสมอ อาทิ โมร็อคโค แต่โทษจำคุกต่ำสุดสามปี สูงสุดห้าปี

ปัญหาอยู่ที่การที่ให้คุณค่ากับเรื่องอะไร อย่างประเทศอื่นที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกำกับก็มีการลงโทษที่เหมาะสม แต่สำหรับศาลในบ้านเราก็อาจเป็นอีกแบบหนึ่ง


อ.สาวตรี กล่าวว่า ข้อมูลจากการศึกษาของ "David Strecksuss" พบว่า ความผิดมาตรา 112 ระหว่างปีพ.ศ.             2535-2547       มีฟ้องคดี น้อยกว่า 10 คดี (เฉลี่ยแล้วฟ้องปีละประมาณ 0.8 คดี) พอช่วงปี 48-52 มี 547 คดี เฉลี่ยแล้วฟ้องประมาณปีละ 109 จำนวน ช่วงระยะเวลา 4- 5 ปีเพิ่มขึ้น อัตราคดีเพิ่มขึ้นราว 131 เท่า ในจำนวนคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผิด 247 คดี

หากแยกประเด็นแล้วพบว่ามีการพยายามเอามาตรา 112 เอาไปผนวกกับความผิดเรื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการเอาถ้อยคำหมิ่นไปลงในเน็ต  พบว่ามี 31 คดีอย่างเป็นทางการ ตัดสินผิด 5 คดี ยกฟ้อง 1 คดี และยังอยู่ระหว่างพิจารณา 2 คดีอยู่ในขั้นตอนสอบ ตั้งข้อหาอีก 15 คดีซึ่ง 1 ใน 15 คดี ทั้งนี้ ยังพบอีกว่ามีการบล็อกเว็บไซต์หมิ่น 5 หมื่น จากการปิดทั้งหมด 7 หมื่นเว็บไซต์

ข้อเสนอ

สำหรับข้อเสนอของกลุ่ม 7 ประเด็น คือ ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากเป็นฐานคำสั่งที่มาจากคณะรัฐประหาร จึงขาดความชอบธรรมในทางปชต. เพื่อให้มีการนำไปบัญญัติอีกลักษณะขึ้นใหม่ หมายความว่าเอามาตรานี้ออกจากลักษณะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง 

สองคือ ตำแหน่งแห่งที่ว่าด้วยตำแหน่งที่บัญญัติขึ้นใหม่ให้เพิ่มลักษณะขึ้นใหม่ เนื่องจากความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และอาฆาตมาดร้ายนี้ไม่มีความผิดร้ายแรงต่อการดำรงอยู่ของราชอาณาจักร จึงสมควรให้มีลักษณะเฉพาะ ไม่สามารถถูกนำไปกล่าวอ้างว่าเป็นความมั่นคงของราชอาณาจักรได้ ในขณะที่ในส่วนเกี่ยวกับการประทุษร้าย ปลงพระชนม์จะคงไว้ ให้มีการขยับเฉพาะมาตรา 112

 สามคือ ตำแหน่งที่ได้รับการคุ้มครองให้มีการแบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งกษัตริย์ ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยบัญญัติมาตราขึ้นมาใหม่แบ่งแยกเป็นสองมาตรา เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งแยกการคุ้มครองกับกษัตริย์ พระราชินี ซึงได้มีการแยกความผิดฐานปลงพระชนม์กษัตริย์ และราชินี รัชทายาท

สี่คือ เรื่องอัตราโทษปรับให้ไม่กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ, ลดอัตราโทษจำคุกขั้นสูงเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี พร้อมกำหนดโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท

ห้าคือ เพิ่มเติมเหตุละเว้นความผิด กรณีการติชม แสดงความคิดเห็น โดยสุจริต เพื่อธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือสาธารณะ บุคคลนั้นไม่มีความผิด

หกคือ เพิ่มเติมเหตุยกเว้นโทษ ความผิดฐานต่างๆดังกล่าวถ้าผู้ถูกกล่าวหาคนดังกล่าวพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

เจ็ดคือ ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิด โดยให้ สำนักเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษ เพื่อไม่ให้บุคคลนำบทบัญญัติเป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือนำไปใช้โดยไม่สุจริต แต่อาจมีข้อโต้แย้งว่าดึงเอาหน่วยงานใกล้ชิด แต่ทางปฎิบัตินั้นสำนักนี้ก็ดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว

จึงขอเรียกร้องให้นักวิชาการต่างๆให้แสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือต่างก็ตาม

 
ด้านอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ได้เข้าฟังการเสวนาเสนอความเห็นว่า ประเด็นสำคัญคือ ที่สุดแล้วตัวบทกฎหมายขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ การตีความของศาล สังคมโดยรวมขึ้นอยู่กับตรงนั้น ปัญหาคือการเสนอกฎหมายที่เป็นรูปธรรมตามที่ได้กลุ่มเสนอมานั้น กรณีข้อเสนอว่า "ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงแล้วเป็นข้อยกเว้นโทษ"

กรณีนี้ ลองเปรียบเทียบกับหนังของโอลิเวอร์ สโตน เรื่อง "เจเอฟเค" โอลิเวอร์ สโตน นำเสนอทฤษฎีกล่าวหาว่า รองปธน.เป็นคนฆ่าเจเอฟเค เพื่อให้ตัวเองขึ้นตรองตำหน่ง แล้วเราลองสมมติว่า อันนี้จะมีใครพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ ซึ่งลองมองที่เราเองตราบใดเท่าที่สังคมเรามีอุดมการณ์แบบนี้ ศาลจะไม่มีทางตัดสินเป็นข้อยกเว้นเลย

"ประเด็นลำพังตัวกฎหมายนั้นไม่มีทางที่จะมีความสำคัญโดยตัวมันเอง กฎหมายเสนอแก้โดดๆไม่ได้ ต้องแก้ไปพร้อมกับอุดมการณ์นั้น"


ที่มา: http://www.matichon.co.th

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

สำนวนภาษิตกฎหมายลาติน

Legal Latin phrases and maxims จาก inrebus.com

A mensa et thoro - From bed and board.

A vinculo matrimonii - From the bond of matrimony.

Ab extra - From outside.

Ab initio - From the beginning.

Absoluta sententia expositore non indiget - An absolute judgment needs no expositor.

Abundans cautela non nocet - Abundant caution does no harm.

Accessorium non ducit sed sequitur suum principale - An accessory does not draw, but follows its principal.

Accessorius sequitur - One who is an accessory to the crime cannot be guilty of a more serious crime than the principal offender.

Acta exteriora iudicant interiora secreta - Outward acts indicate the inward intent.

Actio non accrevit infra sex annos - The action has not accrued within six years.

Actio non datur non damnificato - An action is not given to one who is not injured.

Actio personalis moritur cum persona - A personal action dies with the person.

Actiones legis - Law suits.

Actori incumbit onus probandi - The burden of proof lies on the plaintiff.

Actus nemini facit injuriam - The act of the law does no one wrong.

Actus non facit reum nisi mens sit rea - The act does not make one guilty unless there be a criminal intent.

Actus reus - A guilty deed or act.

Ad ea quae frequentius acciduunt jura adaptantur - The laws are adapted to those cases which occur more frequently.

Ad hoc - For this purpose.

Ad infinitum - Forever, without limit, to infinity.

Ad perpetuam rei memoriam - For a perpetual memorial of the matter.

Ad quaestionem facti non respondent judices; ad quaestionem legis non respondent juratores - The judges do not answer to a question of fact; the jury do not answer to a question of Law.

Aedificare in tuo proprio solo non licet quod alteri noceat - It is not lawful to build on one's own land what may be injurious to another.

Aequitas legem sequitur - Equity follows the law.

Aequitas nunquam contravenit legem - Equity never contradicts the law.

Alibi - At another place, elsewhere.

Alienatio rei praefertur juri accrescendi - Alienation is preferred by law rather than accumulation.

Aliunde - From elsewhere, or, from a different source

Allegans contraria non est audiendus - One making contradictory statements is not to be heard.

Allegans suam turpitudinem non est audiendus - One alleging his own infamy is not to be heard.

Allegatio contra factum non est admittenda - An allegation contrary to a deed is not to be heard.

Ambiguitas contra stipulatorem est - An ambiguity is most strongly construed against the party using it.

Ambiguitas verborum patens nulla verificatione excluditur - A patent ambiguity is never helped by averment.

Amicus curiae - A friend of the Court.

Angliae jura in omni casu libertati dant favorem - The laws of England are favorable in every case to liberty.

Animo furandi - With an intention of stealing.

Animo testandi - With an intention of making a will.

Annus luctus - The year of mourning.

Ante - Before.

Aqua currit et debet currere, ut currere solebat - Water runs and ought to run.

Arbitrium est judicium - An award is a judgment.

Arbor dum crescit; lignum cum crescere nescit - A tree while it grows, wood when it cannot grow.

Argumentum ab auctoritate fortissimum est in lege - An argument drawn from authority is the strongest in law.

Argumentum ab impossibilii plurimum valet in lege - An argument from impossibility is very strong in law.

Argumentum ad hominem - An argument directed a the person.

เรียนรู้คำศัพท์ทางกฎหมายสัปดาห์ละ 10 คำ*

plaintiff           = โจทก์ในคดีแพ่ง

plaint       = คำฟ้องแพ่ง

neglect      = ประมาทเลินเล่อ, ละเลย, เพิกเฉย

proceed      = ดำเนิน (คดี, กระบวนพิจารณา) จัดการ, ดำเนินการ

case           = กรณี, คดี

complainant       = ผู้ร้องทุกข์

legal            = ตามกฎหมาย, ตามความชอบธรรม

law court (lawcourt) = ศาล

jury    = คณะลูกขุน

find    = รับฟัง (ข้อเท็จจริง)

มาตราที่เกี่ยวกับเรื่องว่าด้วยตราสารเปลี่ยนมือ

ม. 900 ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความ

ม. 905 ผู้ครอบครองตั๋ว แสดงให้ปรากฏว่าสิทธิมาจากการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้สุดท้ายจะสลักหลังลอย ถือว่าเป็นผู้ทรง ว. 2 บุคคลใดต้องปราศจากตั๋วไปจากครอบครอง ผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋ว หาจำต้องสละตั๋วไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต / ได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ใช้บังคับกับผู้ทรงตั๋วผู้ถือด้วย

ม. 914 ผู้สั่งจ่าย / ผุ้สลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นสัญญาว่าเมื่อตั๋วนั้นได้นำไปยื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรอง + ใช้เงินตามตั๋ว ถ้าตั๋วนั้นเขาไม่เชื่อถือ / ไม่รับรอง / ไม่ใช้เงิน ผู้สั่งจ่าย / ผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หากได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรอง

ม. 916 ผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงิน จะต่อสู้ต่อผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่ง จ่าย / ผู้สลักหลัง คนก่อนๆ ไม่ได้ เว้นแต่ การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดฉ้อฉล

ม. 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินผู้ถือ เป็นการประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย

ม.939 การรับอาวัล ทำได้โดยการเขียนลงในตั๋วเงินนั้น / ใบประจำต่อ ใช้คำว่า ได้ใช้เป้นอาวัล + ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล
ว. 3 การลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล ในด้าหน้าตั๋วเงิน ก้เป็นการรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย / ผู้จ่าย
ว. 4 การรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากไม่ระบุเป็นการรับประกันผู้สั่งจ่าย

ม. 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน แม้ความรับผิดจะใช้ไม่ได้เพราะผิดระเบียบ การอาวัลก็ยังสมบูรณ์

ม. 967 ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาผู้สั่งจ่าย / ผู้รับรอง / ผู้สลักหลัง / ผู้ประกัน (อาวัล) ย่อมต้องรับผิดร่วมกันต่อผู้ทรง

ม. 989 บทบัญญัติเรื่องตั๋วแลกเงิน ให้นำมาบังคับใช้ในเรื่องเช็ค คือ ม.910 , 914 – 923 , 925 , 926 , 938 – 940 , 945 , 946 , 959 , 967 ม. 991 ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็ค เว้นแต่ (1) ไม่มีเงินในบัญชีพอ (2) เช็คนั้นยื่นเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่ออกเช็ค (3) มีคำบอกกล่าว

ม. 1007 ถ้าข้อความในตั๋วเงิน / ในคำรับรอง มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยคู่สัญญาทั้งปวงมิได้ยิยยอมด้วยทุกคน
  ตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไป เว้นแต่ใช้ได้ต่อผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง / ได้ยินยอม + ผู้สลักหลังในภายหลัง
  ว. 2 หากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ประจักษ์ + ตั๋วเงินตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบ ผู้ทรงจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนหนึ่งว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย + จะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วก็ได้ ว. 3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสำคัญ คือ วันที่ลง / จำนวนเงิน / เวลาใช้เงิน / สถานที่ใช้เงิน / รวมถึงเติมสถานที่ใช้เงิน

ม. 1008 เมื่อใดเป็นลายมือชื่อปลอม / มิได้มอบอำนาจ ผู้ใดจะอ้างเพื่อแสวงสิทธิยึดหน่วง / ทำให้หลุดพ้น /
บังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นไม่อาจทำได้ เว้นแต่ เป็นผู้ซึ่งถูกตัดบทมิให้ยกลา
ยมือชื่อปลอม / ปราศจากอำนาจ ขึ้นต่อสู้

ตัวอย่างข้อสอบนิติกรรม-สัญญา

     เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 นายแดงได้เสนอขายบ้านของตนให้แก่นายดำหนึ่งหลังในราคา 2 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนว่า ถ้าตนถูกย้ายไปรับราชการที่ต่างจังหวัดภายในเดือนกันยายน 2552 สัญญาซื้อขายบ้านจึงเกิดขึ้น และจะโอนบ้านให้แก่นายดำตามที่เสนอขายไว้ แต่ถ้าภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวตนไม่ถูกย้ายให้สัญญาซื้อขายบ้านเป็นอันเลิกแล้วต่อกัน

ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ได้เกิดเพลิงไหม้บ้านข้างเคียงและลุกลามมาไหม้บ้านนายแดงเสียหายหมดทั้งหลัง หลังจากเพลิงสงบแล้วในวันที่ 15 สิงหาคม 2552 นายแดงได้ขอรับเงินค่าซื้อบ้านจำนวน 2 ล้านบาทจากนายดำโดยอ้างว่าการซื้อบ้านเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เมื่อเกิดความเสียหายหรือสูญหายโดยมิใช่ความผิดของลูกหนี้ การสูญหรือเสียหายนั้นย่อมตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้คือนายดำ นายดำจึงต้องชำระดังกล่าวให้แก่ตน ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้ออ้างของนายแดงฟังขึ้นหรือไม่ และนายดำจะต้องชำระเงินค่าซื้อบ้านจำนวน 2 ล้านบาท ให้แก่นายแดงหรือไม่ เพราะเหตุใด


     แนวคำตอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 370 , 371

กรณีตามปัญหา ในสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้น ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ทรัพย์นั้น โดยที่จะโทษลูกหนี้มิได้ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป กล่าวคือ เจ้าหนี้ต้องรับบาปเคราะห์แห่งความเสียหายนั้น ตามมาตรา 370 

แต่ถ้าเป็นกรณีของสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่งโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน ถ้าเงื่อนไขยังไม่สำเร็จกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้นก็ยังไม่โอนไปจนกว่าเงื่อนไขจะสำเร็จ ดังนั้นถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้นโดยที่จะโทษลูกหนี้ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะตกเป็นพับแก่ลูกหนี้ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้นไปตามมาตรา 371 วรรคหนึ่ง

ดังนั้นในกรณีนี้ สัญญาซื้อขายบ้านระหว่างนายแดงกับนายดำ เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่งโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน แต่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ กล่าวคือ นายแดงยังมิได้ถูกย้ายไปทำงานที่ต่างจังหวัด เมื่อเกิดไฟไหม้บ้านที่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง ที่เกิดขึ้นโดยที่จะโทษนายแดงลูกหนี้มิได้ ดังนั้น ผู้ที่ต้องรับภัยพิบัติจากการที่ทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้นสูญหายหรือเสียหายไปในครั้งนี้คือนายแดงผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าว ข้ออ้างของนายแดงจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้ออ้างของนายแดงฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นกรณีตามมาตรา 371 นายดำจึงไม่ต้องชำระเงินค่าซื้อบ้านจำนวน 2 ล้านบาท ให้แก่นายแดง