วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สรุปหลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย


สรุปหลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย
การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้
การประกัน (Insurance) คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ
          - ผู้รับประกันภัย คือ ผู้ที่ได้ผลประโยชน์ตอบแทน เมื่อมีการเคลมประกันครับ
             - ผู้เอาประกัน หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder)  คือ บุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันชีวิต โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกัน ชีวิต ไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์เสมอไป  
            - ผู้รับผลประโยชน์  คือ บุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าจะเป็นผู้ได้รับเงินประกันชีวิต ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้รับผลประโยชน์อาจเป็นบุคคลเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้

กฏหมายประกันภัยนั้นจึงมีความสำคัญในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก จึงจะขอเขียนถึงกฏหมายประกันภัยด้วยเรื่อง ดังนี้
1.ประกันวินาศภัย
2.ประกันชีวิต[4]
ประกันวินาศัย
     ประกันวินาศัย คือ การที่ผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอา ประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยตกลงจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย แบ่งประเภทของการประกันวินาศภัยออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน
  การประกันภัยอัคคีภัย หรือ ที่เรียกกันว่าประกันไฟนั้น เป็นการประกันประเภทหนึ่งที่มีวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นตัวทรัพย์สิน โดยตรงไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ประเภท สิ่งปลูกสร้างก็ตาม สามารถที่จะเอาประกันอัคคีภัยได้ทั้วสิ้น
  การประกันภัยรถยนต์ คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ซึ่งได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ความเสียหายที่รถยนต์ได่ก่อให้เกิดขึ้นแก่ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภาย นอน รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น
  การประกันภัยเบ็ดเล็ด เป็นการประกันภัยเบ็ดเตล็ดเป็นประเภทหนึ่งของการประกันวินาศภัย การประกันภัยเบ็ดเตล็ดที่มีอยู่ในประเทศไทยป็จุบันนี้มีจำนวนหลายชนิด ประกอบกับการมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซับซ้อน จึงควรที่จะได้ศึกษาถึงรายละเอียดอันเป็นสาระสำคัญของการประกันภัยประเภทนี้ ให้เข้าใจดังนี้
    การประกันภัยต่อ หมายถึง การกระจายการเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยผู้รับประกันภัยด้วยกันเองเนื่อง จากความสามารถในการรับความเสี่ยงภัยไว้เองของบริษัทมีจำกัด จึงกระจายความเสี่ยงภัยส่วนที่เหลือไปให้กับผู้รับประกันภัยอื่น ๆ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย และ การประกันภัยต่อตามสัญญา[5]

หน้าที่ของผู้เอาประกันวินาศภัย
1. ชำระเบี้ยประกันภัย
2. บอกกล่าวการเกิดวินาศภัยให้ผู้รับประกันภัยทราบ
หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 881 ถ้า ความวินาศเกิดขึ้นเพราะภัยมีขึ้นดั่งผู้รับประกันภัย ตกลงประกันภัยไว้ไซร้ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบ ความวินาศนั้นแล้วต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยโดยไม่ชักช้า
        ถ้ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อน ผู้รับประกันภัย อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิด แต่การนั้นได้เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้
มาตรา 882 ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้อง คดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย
         ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อ พ้นเวลาสองปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัย ถึงกำหนด

สิทธิของผู้เอาประกันวินาศภัย
1. สิทธิได้ลดเบี้ยประกันภัย
2. สิทธิบอกเลิกสัญญาประกันภัย
3. สิทธิได้ลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
4. สิทธิเรียกให้ผู้รับประกันภัยหาประกัน
5.สิทธิเรียกให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน[6]
หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
 มาตรา 864 เมื่อ คู่สัญญาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะขึ้น เป็นข้อพิจารณาในการวางกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัย และภัย เช่นนั้นสิ้นไปหามีไม่แล้ว ท่านว่าภายหน้าแต่นั้นไปผู้เอาประกันภัย ชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกันภัยตามส่วน
มาตรา 872 ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกสัญญา เสียก็ได้ แต่ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้เบี้ยประกันภัยกึ่งจำนวน
มาตรา 873 ถ้า ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยนั้น มูลประกันภัย ได้ลดน้อยถอยลงไปหนักไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลด จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ และลดจำนวนเงินเบี้ยประกันภัย
         การลดจำนวนเบี้ยประกันนั้น ให้เป็นผลต่อในอนาคต
มาตรา 876 ถ้า ผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือ จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
         ถ้าผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายท่านให้ใช้ วิธีเดียวกันนี้บังคับตามควรแก่เรื่อง แต่กระนั้นก็ดี ถ้าเบี้ยประกันภัย ได้ส่งแล้วเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันเป็นระยะเวลามากน้อยเท่าใดไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสุดลง



หน้าที่ของผู้รับประกันวินาศภัย
1.             ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
2.             ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีวินาศภัยเกิดขึ้น
*ผู้รับประกันภัยจะมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
1. เมื่อเกิดวืนาศภัยขึ้น
2. เป็นวินาศภัยในอนาคต ภายหลังทำสัญญา
3. เป็นวินาศภัยที่ได้ระบุไว้ในสัญญา
4. วินาศภัยหรือความเสียหายนั้นประมาณเป็นเงินที่แน่นอนได้
*จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
 หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 870 ถ้า ได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันเพื่อความวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกัน ภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับ ประโยชน์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศจริง เท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวนวินาศจริงแบ่งตาม ส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประกันภัยไว้
                  อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ ทำพร้อมกัน
ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองราย หรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็น
ลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัย ก่อนถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้ม จำนวนวินาศภัยไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ ยังขาดอยู่นั้นต่อ ๆ กันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ
มาตรา 871 ถ้า ได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันก็ดี หรือสืบเนื่องเป็นลำดับกันก็ดี ท่านว่าการที่ย่อมสละสิทธิ อันมีต่อผู้รับประกันภัยรายหนึ่งนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ ของผู้รับประกันภัยรายอื่น ๆ
มาตรา 874 ถ้า คู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ผู้รับ ประกันภัยชอบที่จะได้ลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน ก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ ว่าราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็นจำนวนสูงเกิน ไปหนัก และคืนจำนวนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ยด้วย
มาตรา 877 ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดั่งจะกล่าว ต่อไปนี้ คือ
         (1) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
        (2) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สิน ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
        (3) เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน ซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
อันจำนวนวินาศจริงนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาซึ่ง เหตุวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่งจำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคา เช่นว่านั้น
ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอา ประกันภัยไว้
มาตรา 878 ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับ ประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้

มาตรา 879 ผู้ รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัย หรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับ ประโยชน์
ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยอันเป็นผลโดย ตรง มาแต่ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่ จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น

 สิทธิของผู้รับประกันวินาศภัย
1.             เรียกให้ผู้เอาประกันภัยหาประกัน
2.             รับช่วงสิทธของผู้เอาประกันภัย[7]

 หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 863 อัน สัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วน ได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่ อย่างหนึ่งอย่างใด
มาตรา 876 ถ้า ผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือ จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
                  ถ้าผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายท่านให้ใช้ วิธีเดียวกันนี้บังคับตามควรแก่เรื่อง แต่กระนั้นก็ดี ถ้าเบี้ยประกันภัย ได้ส่งแล้วเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันเป็นระยะเวลามากน้อยเท่าใดไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสุดลง
มาตรา 880 ถ้า ความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของ บุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวน เพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และ ของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น
                   ถ้าผู้รับประกันภัย ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้น ใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิของ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอา ค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น

ประกันชีวิต
การประกันชีวิต คือ การที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วายกันเฉลี่ยเงินจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย อันเกิดจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การเจ็บป่วย หรือการไม่มีรายได้ในยามแก่ชรา โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บรวบรวมเงินเฉลี่ยแล้ว นำไปจ่ายแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งจำนวนเงินก้อนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับก็คือ เงินเอาประกันภัย ส่วนเงินเฉลี่ยที่เก็บจากแต่ละคนจะเรียกว่า เบี้ยประกันภัย
ประโยชน์ของการประกันชีวิต คือ ช่วยสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัว ช่วยให้เกิดการออมทัพย์ซึ่งจะเป็นแหล่งระดมเกิดเงินทุนในการนำไปพัฒนาประเทศ และผู้เอาประกันภัยสามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยของประกันชีวิต ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ไม่เกิน50,000 บาท


แบบกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันชีวิต คือ สัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันมีหน้าที่ต้องจ่าย
เบี้ยประกันให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า บริษัทประกันชีวิต โดยบริษัทประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องจ่าย
ผลตอบแทน เรียกว่า ทุนประกันชีวิต ให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่ครบตามสัญญาของกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันภัยของการประกันชีวิต แบบพื้นฐานมี 4 แบบ
1) แบบสะสมทรัพย์ คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันภัยชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียใชีวิตนระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญา
2) แบบตลอดชีพ คือ สัญญาประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้ประกันภัยเสียชีวิตหรือผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 99 ปี บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
3) แบบชั่วระยะเวลา คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียใชีวิตนระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
4) แบบ เงินได้ประจำ คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินงวดเท่า ๆ กัน ทุกเดือนให้แก่ผู้เอาประกันภัยขณะที่มีชีวิตอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี หรือตลอดชีพ

 หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย
1. การเปิดเผยข้อความจริงในการขอทำประกันชีวิต
หากผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยเมื่อครบกำหนด ชำระ บริษัทจะผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยให้อีก 30 หรือ 60 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือสัญญาเพิ่มเติมแต่ละแบบ ในระหว่างระยะเวลาผ่อนผันดังกล่าว ถ้าผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ กรมธรรม์หรือสัญญาเพิ่มเติมแต่ละแบบยังคงให้ความคุ้มครองดังกล่าว
2. การกู้ยืมเงินโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกัน
เมื่อ กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ และมีมูลค่าเงินสดผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอกู้เงินจากบริษัทและจำนวนเงินที่ ขอกู้ยืมนั้นจะไม่เกินมูลค่าเงินสด
3. การเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อขอรับเงินคืน
เมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยติดต่อกันเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ขึ้นไป กรมธรรม์จะมีมูลค่าเงินสดเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิของเวนคืนกรมธรรม์เพื่อรับเงินสดเท่ากับจำนวนเงินที่ ระบุในตาราง มูลค่าเวนคืนเงินสด ณ สิ้นปีกรมธรรม์นั้น ๆ
4. การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ
ถ้าผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งเบี้ยประกันติดต่อกันมาเป็น เวลา 2 ปา ขึ้นไปแล้ว และไม่ประสงค์ที่จะชำระเบี้ยประกันต่อไปอีก แต่ต้องการได้รับความคุ้มครองเท่ากับระยะเวลาเดิม บริษัทประกันชีวิตจะนำมูลค่าเงินสดของกรมธรรมืประกันชีวิตมาซื้อความคุ้ม ครอง โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่า กรมธรรม์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัยหรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
5. การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นการประกันภัยแบบขยายเวลา
ถ้าผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งเบี้ยประกันภัยติดต่อกันมา เป็นเวลา 2 ปี ขึ้นไปแล้ว และไม่ประสงค์ที่จะชำระเบี้ยประกันภัยต่อไปอีก แต่ต้องการได้รับความคุ้มครองในจำนวนเงินเอาประกันชีวิตเท่าเดิม บริษัทประกันชี่วิตจะนำมูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาซื้อความคุ้ม ครอง โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตภาย ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในตารางขยายเวลาท้ายกรมธรรม์บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอา ประกันชีวิตให้กับผู้รับประโยชน์ ถ้ามีจำนวนเงินเหลือปรากฏในตารางมูลค่าขยายเวลาที่แนบท้ายกรมธรรม์ และผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัยบริษัทก็จะคืนเงินที่เหลือให้ด้วย

หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย
1. การเปิดเผยข้อความจริงในการขอทำประกันชีวิต
การเปิดเผยข้อความจริงในขณะทำสัญญาประกันภัย จะทำให้กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับสมบูรณ์ บริษัทมี่สิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาได้
2. การชำระเบี้ยประกันภัย
การชำระเบี้ยประกันภัย จะทำให้กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับและได้รับความคุ้มครองตลอดจนสิทธิประโยชน์เต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัย
 3. การแจ้งการย้ายที่อยู่หรือการเปลี่ยนชื่อนามสกุล
การแจ้งการย้ายที่อยู่หรือการเปลี่ยนชื่อนามสกุลให้บริษัททราบเพื่อประโยชน์ในการที่บริษัทจะติดต่อผู้เอาประกันภัยได้ถูกต้อง

บริษัทจะปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีดังต่อไปนี้
1. การปกปิดข้อความจริงและแถลงข้อความเท็จ
การที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อความจริง ตลอดจนการแถลงข้อความที่เป็นเท็จในใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันชีวิต บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอา ประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาประกันภัย หรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย
2. ผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายโดยเจตนาภายใน 1 ปี
การฆ่าตัวตายโดยเจตนาภายใน 1 ปี ของผู้เอาประกันภัย นับแต่วันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ถือเป็นข้อยกเว้นการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามกฏหมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ฆ่าตัวตาย เพื่อหวังจำนวนเงินเอาประกันภัย
 3. ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยโดยเจตนา
ถือเป็นข้อยกเว้นการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามกฏหมาย เพราะบุคคลจะรับประโยชน์จากการทำผิดของตนไม่ได้ แต่ถ้ามีผู้รับประโยชน์มากกว่า 1 คน และไม่มีส่วนร่วมในการฆ่าผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ไม่มีส่วนในการฆ่าผู้เอาประกันภัยตามส่วน
4. การเสียชีวิตโดยธรรมชาติในระยะเวลารอคอย
กรมธรรม์ประกันภัยบางประเภทที่การชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือนมีจำนวนเงินเอประกันภัยาต่ำ และการรับประกันชีวิตไม่มีการตรวจสุขภาพผู้ขอเอาประกันภัย เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยจะมีระยะเวลารอคอย 180 วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตโดยธรรมชาติใน ช่วงระยะเวลารอคอย บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้วคืนให้ แต่ถ้าเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุบริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้
5. การปกปิดอายุจริงของผู้เอาประกันภัย อยู่นอกจำกัดอัตราทางการค้าปกติของบริษัท
หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่าในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย อายุที่ถูกต้องแท้จริงาของผู้เอาประกันภัยอยู่นอกจำกัดอัตราการค้าปกติแล้ว บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาประกันภัยได้[9]
หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 889 ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัย ความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง
มาตรา 890 จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น จะชำระเป็นเงินจำนวนเดียว หรือเป็นเงินรายปีก็ได้ สุดแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างคู่สัญญา
มาตรา 891 แม้ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์ เองก็ดีผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้ แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้ แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือ ไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น
          ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยได้ทำเป็นรูปให้ใช้เงินตามเขาสั่งแล้ว ท่าน ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 309 มาใช้บังคับ
มาตรา 892 ในกรณีบอกล้างสัญญาตามความใน มาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอา ประกันภัย หรือทายาทของผู้นั้น
มาตรา 893 การ ใช้เงินอาศัยเหตุความทรงชีพ หรือมรณะของ บุคคลผู้ใด แม้ได้แถลงอายุของบุคคลผู้นั้นได้คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ได้กำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัยไว้ต่ำไซร้ ท่านให้ลดจำนวน เงินอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้นั้นลงตามส่วน
         แต่ถ้าผู้รับประกันภัยพิสูจน์ได้ว่า ในขณะที่ทำสัญญานั้นอายุที่ ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราตามทางค้าปกติของเขาแล้ว ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา 894 ผู้ เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัย เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ด้วยการงดไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและ ได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปีไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัย ชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือรับกรมธรรม์ใช้ เงินสำเร็จจากผู้รับ ประกันภัย
มาตรา 895 เมื่อ ใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคล คนหนึ่งคนใดท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัย อันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่
1 บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่ง นับแต่วันทำสัญญา หรือ
2 บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาในกรณีที่ 2 นี้ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถ่ถอน
กรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น
มาตรา 896 มรณภัย เกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอก นั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะ ในอันจะได้ค่าสินไหม ทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจำนวนเงิน อันพึงจะใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะหวนกลับมาได้แก่ตนด้วย
มาตรา 897 ถ้า ผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนด ว่าเมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดย มิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ท่าน ให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันซึ่ง เจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้
                ถ้าได้เอาประกันภัยไว้ โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลใดบุคคล หนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้น จัดเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่ง กองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้

ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาประกันชีวิตกับสัญญาประกันวินาศภัย
    การ ประกันวินาศภัย และ การประกันชีวิตนั้น ตามกฎหมายเรียกกันโดยรวมว่า "การประกันภัย" ซึ่งปกติแล้วจะเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ ผู้เอาประกันภัย กับ ผู้รับประกันภัย โดยเป็นสัญยาต่างตอบแทน คือ ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือ ใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ หากเกิดวินาศภัยขึ้น หรือ มีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต ที่ระบุตกลงกันไว้ในสัญญาเกิดขึ้น ส่วนผู้เอาประกันภัยก็มีหน้าที่ต้องส่งเงินที่เรียกว่า เบี้ยประกัน ให้แก่ผู้รับประกันภัยด้วย
    จึงพอสรุปได้ว่า สัญญาประกันวินาศภัย ก็คือ  สัญญา ที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิด ขึ้นจากวินาศภัย ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์  ทั้ง นี้ ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงิน ค่าเบี้ยประกันภัยให้ เช่น การประกันภัยทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ โรงงาน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทรัพย์มีค่าต่างๆ ฯลฯ
      ส่วน สัญญาประกันชีวิต คือ สัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ได้ถูกเอาประกันชีวิต ได้ตายลง หรือเมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาตามที่ตกลงกันไว้ และผู้เอาประกันตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้ เช่น การทำประกันชีวิตแบบที่มีเงื่อนไขการใช้เงิน เมื่อผู้เอาประกัน หรือ ผู้ถูกเอาประกันชีวิต เสียชีวิต หรือ แบบสะสมทรัพย์ เมื่อผู้เอาประกัน หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิต มีชีวิตอยู่จนครบอายุสัญญา หรือ รวมกันทั้งสองแบบก้ได้ ถ้าหากว่ามีการเสียชีวิต หรือ อยู่จนครบอายุสัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันก็จะได้รับเงินตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้นั่นเอง[10]
Note:
1.รองศาสตราจารย์พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย, หน้า๑-๒
2. ศาตราจารย์ ไชยยศ เหมะรัชตะ, 108 ปัญหาประกันภัย
3. ผศ.ดร. ธานี  วรภัทร์, กฏหมายว่าด้วยประกันภัย, หน้า ๑๒-๑๓
4.รศ. พินิจ ทิพย์มณี, หลักกฏหมายประกันภัย, หน้า ๕
5. ผศ.ดร. ณัฐวัสส์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, คำอธิบายกฏหมายประกันภัย
6.ชีทสรุปโดย ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, กฏหมายเพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย, หน้า๔๓-๔๕
7.ชีทสรุปโดย ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, กฏหมายเพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย, หน้า๔๖
8.รองศาสตราจารย์พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย, หน้า๑๙๓
9. รองศาสตราจารย์พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย, หน้า๒0๗-๒0๘
10.ชีทสรุปโดย ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, กฏหมายเพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย, หน้า๗๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น