วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปหลักกฎหมายครอบครัว(1)


[สรุป] สรุปหลักกฎหมายครอบครัว

การหมั้น
เงื่อนไขของการหมั้น มีอยู่ ๒ ประการ
๑. อายุของคู่หมั้น (มาตรา ๑๔๓๕) ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุอ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หากฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ
๒. ความยินยอมของบิดามารดา (ได้รับความยินยอมทั้งบิดาและมารดาแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่ก็ตาม) หรือผู้ปกครอง (มาตรา ๑๔๓๖) การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเป็นโมฆียะ

แบบของสัญญาสัญญาหมั้น
หลัก การหมั้นต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์ (มาตรา ๑๔๓๗)
การหมั้น จะต้องเป็นการที่มีการนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง แต่หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที

กรณีของหมั้นเป็นขอบบุคคลภายนอกมีข้อพิจารณา ดังนี้
(๑) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้นและเจ้าของไม่ยินยอมอนุญาตให้ยืมเอาไปเป็นของหมั้น เจ้าของนั้นมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา ๑๓๓๐ แต่ถ้าเป้นเงินตราและหญิงคู่หมั้นรับไว้โดยสุจริตแล้ว เจ้าของเงินตรามาเอาคืนไม่ได้ เพราะสิทธิของหญิงคู่หมั้นที่ได้เงินตรามาโดยสุจริตไม่เสียไปตามมาตรา ๑๓๓๑
(๒) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้น เจ้าของทรัพย์สินให้ยืมไปทำการหมั้น แม้จะตกลงให้ยืมชั่วคราว เมื่อหญิงไม่รู้เรื่องด้วยแล้ว ของหมั้นนั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิงคู่หมั้น
ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายยกให้หญิงไม่ใช่ในฐานะเป็นสินสอดหรือของหมั้น หากหญิงผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน

ลักษณะสำคัญของของหมั้น
๑. ต้องเป็นทรัพย์สิน
๒. ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
๓. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
๔. ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนสมมรส (ถ้าให้หลังสมรสก็ไม่ใช่ของหมั้น)

คู่สํญญาที่จะต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น
๑. ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น
๒. บิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น
๓. บุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น

ที่มา: http://www.siamjurist.com/forums/1587.html

“ธาริต”ห่วงเปิดเสรีอาเซียนทำปัญหาค้ามนุษย์รุนแรง


( 24 ก.ค.) ที่โรงแรม ดิ เอเมอร์รัล รัชดา  นายธาริต  เพ็งดิษฐ์  อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายภูมิภาคประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงในการป้องกันและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์  โดยมีประเทศเข้าร่วม 7 ประเทศ  ประกอบด้วย  กัมพูชา , สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว , สหภาพพม่า , เวียดนาม , สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน , มาเลเซียและประเทศไทย โดยนายธาริต  กล่าวว่า  ปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน  เพราะการติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรมแดนจะกลายเป็นช่องโหว่ให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นได้  ในส่วนของปัญหาการค้ามนุษย์แถบประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
"ขณะนี้แบ่งลักษณะปัญหาได้ 4 รูปแบบคือ การค้าประเวณีในหญิงและเด็ก  ซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดเนื่องจากเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ คุกคามการปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กรวมถึงยังขัดต่อศีลธรรม  รองลงมาคือการบังคับใช้แรงงานเรือประมงที่พบว่ามีผู้ถูกหลอกเป็นจำนวนมาก  การหลอกเป็นขอทานและการเรียกค่าไถ่  ซึ่งข้อมูลที่ตรวจสอบในส่วนประเทศไทย พบว่ามีความน่าเป็นห่วงเนื่องจากเป็นทั้งประเทศที่เป็นแหล่งค้ามนุษย์ , แหล่งที่ถูกหลอกไปค้ามนุษย์ และเป็นทางผ่านของขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขออย่างจริงจัง  เบื้องต้น ดีเอสไอรับคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เป็นคดีพิเศษแล้ว 5 คดี และยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนอีกจำนวนมาก" นายธาริต กล่าว

ด้านพ.ต.อ.ซก  ริคเม (Sok  Reakmey) รองอธิบดีกรมการค้ามนุษย์และป้องกันเด็ก ของประเทศกัมพูชากล่าวว่า  ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศกัมพูชาเกิดจากประชาชนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น  ส่วนใหญ่ตั้งใจเข้ามาทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟหรือพนักงานโรงงานแต่กลับโดนหลอกค้าแรงงานหรือค้าประเวณี ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะได้นำข้อมูลของแต่ละประเทศมาหารือร่วมกันให้เกิดความร่วมมือในระดับทวิภาคีเพราะเป็นปัญหาที่ซับซ้อน

พ.ต.ท. เงือน  หลาย (Nyunt  Hlaing)  หัวหน้าหน่วยต่อต้านการค้ามนุษย์  สหภาพพม่า  กล่าวว่า การประชุมเครือข่ายภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขงจะทำให้บางประเทศที่ยังไม่เคยได้หารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ได้แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา  ส่วนกรณีที่แต่ละประเทศมีกฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ที่แตกต่างกันนั้นเชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหาในการทำงานร่วมกันหากเน้นประเด็นการให้ความช่วยเหลือเหยื่อและส่งกลับประเทศ  โดยตนมองว่าการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ต้องอาศัยความร่วมมือและการทำงานให้เท่าทันเหตุการณ์  โดยเฉพาะการช่วยเหลือเหยื่อควรมีกระบวนการที่เร่งรัดเพราเหยื่อหลายรายมักให้การเปลี่ยนแปลงหรือให้ข้อมูลผู้กระทำความผิดไม่ตรงกับเหตุการณ์เมื่อระยะเวลาในการดำเนินคดีทอดยาวออกไป

นายบัณฑิต  ศรีวิไล ผู้อำนวยการกรมสกัดกั้นและต่อต้านการค้ามนุษย์ สาธารณรัฐประชาชนลาว กล่าวว่า  การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ต้องร่วมมือกันเพราะเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งในส่วนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีกฏหมายอาญาและกฎหมายว่าด้วยการปกป้องผู้หญิงและเด็กไว้ดำเนินการกับกลุ่มนายหน้าค้ามนุษย์   โดยลักษณะการค้ามนุษย์ของลาวจะเป็นการหลอกลวงกันเองเพื่อนำไปบังคับให้ค้าประเวณี  โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะมีอายุระหว่าง 15-18 ปี


ที่มา: http://www.dailynews.co.th/crime/137645

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกาศรับสมัคร อัยการผู้ช่วยฯ (สนามใหญ่) ปี 2555


ประกาศรับสมัคร อัยการผู้ช่วยฯ (สนามใหญ่) ปี 2555

รับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2555-5 ตุลาคม 2555

รายละเอียดตามลิ้งข้างล่าง

http://www.cmiss.ago.go.th/news54/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%202555.pdf

ขอบเขตในการสอบ

credit : Aone Zalda เนติบัณฑิตไทย

อาญา 1

  อาญา1 เป็นการศึกษาบทบัญญัติทั่วไปของการกระทำความผิดอาญา


การกระทำโดยเจตนา เป็นอย่างไร

ประมาทเป็น อย่างไร

การกระทำเพราะความจำเป็น คืออะไร

ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำ และผลที่เกิดขึ้นหลังกระทำ

เหตุยกเว้นโทษ ลดโทษ

ที่กล่าวมาคือหน่วยใหญ่ของการศึกษา อาญา1

  อาญา1 เป็นวิชาพื้นฐานของกฎหมายอาญา ดังนั้นการที่เราเข้าใจในเจตนา หรือองค์ประกอบของการกระทำความผิด เป็นการดีที่จะนำไปสู่การศึกษาอาญา2 และ 3 ต่อไป