วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หลักในการเขียนตอบกฎหมายในมหาวิทยาลัย

การเขียนตอบกฎหมายนั้น หลายคนอาจจะมีหลักในการเขียนไม่เหมือนกัน แต่โดยหลักการแล้วกระผม คิดว่าหลักการเขียนตอบกฎหมายที่ดีควารมี 3 ส่วน ดังที่อาจารย์ได้เคยสอนผมไว้คือ
1.หลักกฎหมาย
2.วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมาย
3.สรุปคำตอบ ที่โจทก์ถาม

      การเขียนตอบกฎหมายนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องลอกโจทย์ เพราะยังงัยโจทย์ ก็ได้นำไปเขียนตอนวินิจฉัยเข้ากับตัวบทอยู่แล้ว
       การเขียนตอบกฎหมาย ต้องเขียนให้คนที่ไม่เข้าใจอ่านแล้วเข้าใจ
       สรุปแล้วจะเห็นได้ว่า การเขียนตอบกฎหมายที่กระผมได้กล่าวไว้ประกอบด้วย 3 ส่วนตามหลักการทั่วๆไปของการเขียนตอบ อย่างไรก็ตามการที่จะเขียนตอบให้ได้ดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกเขียนและอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ธงคำตอบ วิชา หนี้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาค 2 ปี 2555

ธงคำตอบ วิชา หนี้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาค 2 ปี 2555




มาตรา ห้างหุ้นส่วน- บริษัท

มาตราย่อ หุ้นส่วนและบริษัท
หุ้นส่วนบริษัท
มาตรา 1022   เมื่อได้พิมพ์โฆษณาดั่งนั้นแล้ว ท่านให้ถือว่าบรรดา เอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียน อันได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้น เป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงไม่เลือกว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วน หรือด้วยบริษัทนั้นหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง

หุ้นส่วนสามัญ

มาตรา 1025    อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภท ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด
มาตรา 1031    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้น ของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียน ไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมา ภายในเวลาอันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็น พร้อมกันหรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญา ให้เอาผู้เป็น หุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้
มาตรา 1033    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการ ห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใด ซึ่งผู้ เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้


ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน กับคนภายนอก
มาตรา 1049    ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอก ในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่
มาตรา 1050    การใด ๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไป ในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้นท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกัน โดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น เพราะจัดการไป เช่นนั้น
มาตรา 1051    ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้อง รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป
มาตรา 1052    บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิด ในหนี้ใด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ด้วย
มาตรา 1053    ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้น ถึงแม้จะมีข้อ จำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคน อื่น ๆ ท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผู้ถึงบุคคลภายนอกไม่
มาตรา 1054    บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดีด้วย ลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็น ชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เข้าแสดงว่าตนเป็น หุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดา หนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน
                    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคง ค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี หรือ ใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบ
อยู่ด้วยก็ดี หาทำให้ความรับผิดมีแก่กอง ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใด ๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังมรณะนั้นไม่
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน)
มาตรา 1068    ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วน นั้นย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน
มาตรา 1070    เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้
มาตรา 1072    ถ้าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังมิได้เลิกกันตราบใด เจ้าหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัวย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงในผลกำไร หรือเงินซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นเท่านั้น ถ้า ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดจนถึงหุ้นของ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอันมีในสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

มาตรา 1077    อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
   (1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียง ไม่ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ
   (2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน ใน บรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง
มาตรา 1079    อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด ย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด จำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน

มาตรา 1080    บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดๆ หากมิ ได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย
                   ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นมีอยู่หลายคนด้วยกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นวิธีบังคับในความ เกี่ยวพันระหว่างคนเหล่านั้นเอง และความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนเหล่านั้นกับห้างหุ้นส่วน
มาตรา 1082    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอม โดยแสดงออกชัด หรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดั่งว่า เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น
                      แต่ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองนั้น ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วน เช่นนี้ท่านให้คงบังคับตามสัญญาหุ้นส่วน
มาตรา 1086    ข้อซึ่งตกลงกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย เพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเภททรัพย์สินที่ลงหุ้น หรือเพื่อจะลดจำนวน ลงหุ้นแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนหนึ่งคนใดนั้น ท่านว่ายังไม่เป็นผลแก่บุคคลภายนอกจนกว่าจะได้จดทะเบียน
                    เมื่อได้จดทะเบียนแล้วไซร้ ข้อตกลงนั้น ๆ ก็ย่อมมีผลแต่เพียง เฉพาะแก่หนี้อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังเวลาที่ได้จด ทะเบียนแล้วเท่านั้น
มาตรา 1087    อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ท่านว่าต้องให้แต่เฉพาะ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา 1088    ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดได้ เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิด รวมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน
                    แต่การออกความเห็นและแนะนำก็ดี ออกเสียงเป็นคะแนนนับใน การตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามกรณีที่มีบังคับไว้ในสัญญาหุ้นส่วน นั้นก็ดี ท่านหานับว่าเป็นสอดเข้าเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน นั้นไม่
มาตรา 1090    ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะประกอบ การค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์บุคคล ภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับการค้าขายของห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม
มาตรา 1091    ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้น ของตนปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆ ก็โอนได้
มาตรา 1095    ตราบใดห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมิได้เลิกกันตราบนั้น เจ้าหนี้ของห้างย่อมไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัด ความรับผิดได้
                     แต่เมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นได้เลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ของห้างมีสิทธิฟ้องร้อง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เพียงจำนวนดั่งนี้ คือ
(1) จำนวนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่าที่ยังค้างส่งแก่ห้างหุ้นส่วน
(2) จำนวนลงหุ้นเท่าที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของ ห้างหุ้นส่วน
(3) จำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ยซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับไปแล้วโดยทุจริตและฝ่าฝืนต่อบท มาตรา 1084

บริษัทจำกัด

มาตรา 1105    อันหุ้นนั้น ท่านห้ามมิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่า ของหุ้นที่ตั้งไว้
                    การออกหุ้นโดยราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้นั้นหากว่าหนังสือ บริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ ก็ให้ออกได้ และในกรณีเช่นนั้นต้องส่งใช้ จำนวนที่ล้ำมูลค่าพร้อมกันไปกับการส่งใช้เงินคราวแรก
                    อนึ่ง เงินส่งใช้ค่าหุ้นคราวแรกนั้น ต้องมิให้น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า แห่งมูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้
มาตรา 1108    กิจการอันจะพึงทำในที่ประชุมตั้งบริษัทนั้น คือ
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่าย อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเขาต้องออกไปในการเริ่มก่อบริษัท
(6) เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัท และวางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย
มาตรา 1112    ถ้าการจดทะเบียนมิได้ทำภายในสามเดือนนับแต่ประชุม ตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่าบริษัทนั้นเป็นอันไม่ได้ตั้งขึ้น และบรรดาเงินที่ได้รับ ไว้จากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นต้องใช้คืนเต็มจำนวนมิให้ลดเลย
                   ถ้ามีจำนวนเงินเช่นว่านั้นค้างอยู่มิได้คืนในสามเดือนภายหลังการประชุม ตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่ากรรมการของบริษัทต้องรับผิดร่วมกันที่จะใช้ทั้งต้นเงิน และดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาสิ้นกำหนดสามเดือนนั้น
                  แต่ถ้ากรรมการคนใดพิสูจน์ได้ว่า การที่เงินขาดหรือที่ใช้คืนช้าไปมิได้ เป็นเพราะความผิดของตนไซร้ กรรมการคนนั้นก็ไม่ต้องรับผิดในการใช้ต้น เงินหรือดอกเบี้ย
มาตรา 1113    ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกันและโดยไม่จำกัด ในบรรดาหนี้และการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทมิได้อนุมัติ และแม้จะ ได้มีอนุมัติก็ยังคงต้องรับผิดอยู่เช่นนั้นไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท
หุ้นส่วนและผู้ถือหุ้น
มาตรา 1119    หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้น ซึ่งออกตามบทบัญญัติ มาตรา 1108 อนุ มาตรา (5) หรือ มาตรา 1221
                      ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่




วิธีจัดการบริษัทจำกัด
มาตรา 1145    จำเดิมแต่ได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ท่านห้ามมิให้ ตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความใน หนังสือบริคณห์สนธิแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เว้นแต่จะได้มีการลงมติพิเศษ

กรรมการ
มาตรา 1151    อันผู้เป็นกรรมการนั้น เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจจะตั้งหรือถอนได้
มาตรา 1155    ถ้าตำแหน่งว่างลงในสภากรรมการเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามเวรไซร้ ท่านว่ากรรมการจะเลือกผู้อื่นตั้งขึ้น ใหม่ให้เต็มที่ว่างก็ได้ แต่บุคคลที่ได้เป็นกรรมการใหม่เช่นนั้น ให้มีเวลา อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่กรรมการผู้ออกไปนั้นชอบที่ จะอยู่ได้
ประชุมใหญ่
มาตรา 1175    คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ทุกคราวนั้น ให้ ลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่ง ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือ หุ้นทุกคนบรรดามีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อย กว่าเจ็ดวัน
                   ในคำบอกกล่าวนั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการ ที่จะได้ประชุมปรึกษากันนั้นด้วย
มาตรา 1178    ในการประชุมใหญ่ ถ้าไม่มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมรวม กันแทนหุ้นได้ถึงจำนวนหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัทเป็นอย่างน้อยแล้ว ท่านว่าที่ประชุมอันนั้นจะปรึกษากิจการอันใดหาได้ไม่
มาตรา 1179    การประชุมใหญ่เรียกนัดเวลาใด เมื่อล่วงเวลานัดนั้นไป แล้วถึงชั่วโมงหนึ่ง จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าประชุมยังไม่ครบถ้วนเป็น องค์ประชุมดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1178 นั้นไซร้ หากว่าการประชุม ใหญ่นั้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ ท่านให้เลิกประชุม
                 ถ้าการประชุมใหญ่นั้นมิใช่ชนิดซึ่งเรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอไซร้ ท่านให้เรียกนัดใหม่อีกคราวหนึ่งภายในสิบสี่วัน และการประชุมใหญ่ ครั้งหลังนี้ท่านไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์ประชุม
มาตรา 1185    ผู้ถือหุ้นคนใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่ง ที่ประชุมจะลงมติ ท่านห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนนั้นออกเสียงลงคะแนนด้วย ในข้อนั้น
มาตรา 1195    การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของ บริษัทก็ดีเมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้วให้ศาลเพิก ถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย แต่ต้องร้องขอภายใน กำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น
การเพิ่มและลดทุน
มาตรา 1220    บริษัทจำกัดอาจเพิ่มทุนของบริษัทขึ้นได้ด้วยออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 1224    บริษัทจำกัดจะลดทุนของบริษัทลงด้วยลดมูลค่าแต่ ละหุ้น ๆ ให้ต่ำลง หรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงโดยมติพิเศษของประชุม ผู้ถือหุ้นก็ได้
มาตรา 1225    อันทุนของบริษัทนั้นจะลดลงไปให้ถึงต่ำกว่าจำนวนหนึ่ง ในสี่ของทุนทั้งหมดหาได้ไม่

สรุปหลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย


สรุปหลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย
การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้
การประกัน (Insurance) คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ
          - ผู้รับประกันภัย คือ ผู้ที่ได้ผลประโยชน์ตอบแทน เมื่อมีการเคลมประกันครับ
             - ผู้เอาประกัน หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder)  คือ บุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันชีวิต โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกัน ชีวิต ไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์เสมอไป  
            - ผู้รับผลประโยชน์  คือ บุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าจะเป็นผู้ได้รับเงินประกันชีวิต ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้รับผลประโยชน์อาจเป็นบุคคลเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้

กฏหมายประกันภัยนั้นจึงมีความสำคัญในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก จึงจะขอเขียนถึงกฏหมายประกันภัยด้วยเรื่อง ดังนี้
1.ประกันวินาศภัย
2.ประกันชีวิต[4]
ประกันวินาศัย
     ประกันวินาศัย คือ การที่ผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอา ประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยตกลงจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย แบ่งประเภทของการประกันวินาศภัยออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน
  การประกันภัยอัคคีภัย หรือ ที่เรียกกันว่าประกันไฟนั้น เป็นการประกันประเภทหนึ่งที่มีวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นตัวทรัพย์สิน โดยตรงไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ประเภท สิ่งปลูกสร้างก็ตาม สามารถที่จะเอาประกันอัคคีภัยได้ทั้วสิ้น
  การประกันภัยรถยนต์ คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ซึ่งได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ความเสียหายที่รถยนต์ได่ก่อให้เกิดขึ้นแก่ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภาย นอน รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น
  การประกันภัยเบ็ดเล็ด เป็นการประกันภัยเบ็ดเตล็ดเป็นประเภทหนึ่งของการประกันวินาศภัย การประกันภัยเบ็ดเตล็ดที่มีอยู่ในประเทศไทยป็จุบันนี้มีจำนวนหลายชนิด ประกอบกับการมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซับซ้อน จึงควรที่จะได้ศึกษาถึงรายละเอียดอันเป็นสาระสำคัญของการประกันภัยประเภทนี้ ให้เข้าใจดังนี้
    การประกันภัยต่อ หมายถึง การกระจายการเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยผู้รับประกันภัยด้วยกันเองเนื่อง จากความสามารถในการรับความเสี่ยงภัยไว้เองของบริษัทมีจำกัด จึงกระจายความเสี่ยงภัยส่วนที่เหลือไปให้กับผู้รับประกันภัยอื่น ๆ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย และ การประกันภัยต่อตามสัญญา[5]

หน้าที่ของผู้เอาประกันวินาศภัย
1. ชำระเบี้ยประกันภัย
2. บอกกล่าวการเกิดวินาศภัยให้ผู้รับประกันภัยทราบ
หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 881 ถ้า ความวินาศเกิดขึ้นเพราะภัยมีขึ้นดั่งผู้รับประกันภัย ตกลงประกันภัยไว้ไซร้ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบ ความวินาศนั้นแล้วต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยโดยไม่ชักช้า
        ถ้ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อน ผู้รับประกันภัย อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิด แต่การนั้นได้เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้
มาตรา 882 ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้อง คดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย
         ในการเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อ พ้นเวลาสองปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัย ถึงกำหนด

สิทธิของผู้เอาประกันวินาศภัย
1. สิทธิได้ลดเบี้ยประกันภัย
2. สิทธิบอกเลิกสัญญาประกันภัย
3. สิทธิได้ลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
4. สิทธิเรียกให้ผู้รับประกันภัยหาประกัน
5.สิทธิเรียกให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน[6]
หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
 มาตรา 864 เมื่อ คู่สัญญาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะขึ้น เป็นข้อพิจารณาในการวางกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัย และภัย เช่นนั้นสิ้นไปหามีไม่แล้ว ท่านว่าภายหน้าแต่นั้นไปผู้เอาประกันภัย ชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกันภัยตามส่วน
มาตรา 872 ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกสัญญา เสียก็ได้ แต่ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้เบี้ยประกันภัยกึ่งจำนวน
มาตรา 873 ถ้า ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยนั้น มูลประกันภัย ได้ลดน้อยถอยลงไปหนักไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลด จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ และลดจำนวนเงินเบี้ยประกันภัย
         การลดจำนวนเบี้ยประกันนั้น ให้เป็นผลต่อในอนาคต
มาตรา 876 ถ้า ผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือ จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
         ถ้าผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายท่านให้ใช้ วิธีเดียวกันนี้บังคับตามควรแก่เรื่อง แต่กระนั้นก็ดี ถ้าเบี้ยประกันภัย ได้ส่งแล้วเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันเป็นระยะเวลามากน้อยเท่าใดไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสุดลง



หน้าที่ของผู้รับประกันวินาศภัย
1.             ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
2.             ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีวินาศภัยเกิดขึ้น
*ผู้รับประกันภัยจะมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
1. เมื่อเกิดวืนาศภัยขึ้น
2. เป็นวินาศภัยในอนาคต ภายหลังทำสัญญา
3. เป็นวินาศภัยที่ได้ระบุไว้ในสัญญา
4. วินาศภัยหรือความเสียหายนั้นประมาณเป็นเงินที่แน่นอนได้
*จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
 หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 870 ถ้า ได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันเพื่อความวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกัน ภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับ ประโยชน์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศจริง เท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวนวินาศจริงแบ่งตาม ส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประกันภัยไว้
                  อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ ทำพร้อมกัน
ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองราย หรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็น
ลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัย ก่อนถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้ม จำนวนวินาศภัยไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ ยังขาดอยู่นั้นต่อ ๆ กันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ
มาตรา 871 ถ้า ได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้น พร้อมกันก็ดี หรือสืบเนื่องเป็นลำดับกันก็ดี ท่านว่าการที่ย่อมสละสิทธิ อันมีต่อผู้รับประกันภัยรายหนึ่งนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ ของผู้รับประกันภัยรายอื่น ๆ
มาตรา 874 ถ้า คู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ผู้รับ ประกันภัยชอบที่จะได้ลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน ก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ ว่าราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็นจำนวนสูงเกิน ไปหนัก และคืนจำนวนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ยด้วย
มาตรา 877 ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดั่งจะกล่าว ต่อไปนี้ คือ
         (1) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
        (2) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สิน ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
        (3) เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน ซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
อันจำนวนวินาศจริงนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาซึ่ง เหตุวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่งจำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคา เช่นว่านั้น
ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอา ประกันภัยไว้
มาตรา 878 ค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยนั้น ท่านว่าผู้รับ ประกันภัยต้องเป็นผู้ออกใช้

มาตรา 879 ผู้ รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัย หรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับ ประโยชน์
ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยอันเป็นผลโดย ตรง มาแต่ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่ จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น

 สิทธิของผู้รับประกันวินาศภัย
1.             เรียกให้ผู้เอาประกันภัยหาประกัน
2.             รับช่วงสิทธของผู้เอาประกันภัย[7]

 หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 863 อัน สัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วน ได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่ อย่างหนึ่งอย่างใด
มาตรา 876 ถ้า ผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือ จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
                  ถ้าผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายท่านให้ใช้ วิธีเดียวกันนี้บังคับตามควรแก่เรื่อง แต่กระนั้นก็ดี ถ้าเบี้ยประกันภัย ได้ส่งแล้วเต็มจำนวนเพื่ออายุประกันเป็นระยะเวลามากน้อยเท่าใดไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสุดลง
มาตรา 880 ถ้า ความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของ บุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวน เพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และ ของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น
                   ถ้าผู้รับประกันภัย ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่เพียงบางส่วนไซร้ ท่านห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยนั้น ใช้สิทธิของตนให้เสื่อมเสียสิทธิของ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอา ค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศนั้น

ประกันชีวิต
การประกันชีวิต คือ การที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วายกันเฉลี่ยเงินจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย อันเกิดจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การเจ็บป่วย หรือการไม่มีรายได้ในยามแก่ชรา โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บรวบรวมเงินเฉลี่ยแล้ว นำไปจ่ายแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งจำนวนเงินก้อนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับก็คือ เงินเอาประกันภัย ส่วนเงินเฉลี่ยที่เก็บจากแต่ละคนจะเรียกว่า เบี้ยประกันภัย
ประโยชน์ของการประกันชีวิต คือ ช่วยสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัว ช่วยให้เกิดการออมทัพย์ซึ่งจะเป็นแหล่งระดมเกิดเงินทุนในการนำไปพัฒนาประเทศ และผู้เอาประกันภัยสามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยของประกันชีวิต ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ไม่เกิน50,000 บาท


แบบกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันชีวิต คือ สัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันมีหน้าที่ต้องจ่าย
เบี้ยประกันให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า บริษัทประกันชีวิต โดยบริษัทประกันชีวิตมีหน้าที่ต้องจ่าย
ผลตอบแทน เรียกว่า ทุนประกันชีวิต ให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่ครบตามสัญญาของกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันภัยของการประกันชีวิต แบบพื้นฐานมี 4 แบบ
1) แบบสะสมทรัพย์ คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันภัยชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียใชีวิตนระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญา
2) แบบตลอดชีพ คือ สัญญาประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้ประกันภัยเสียชีวิตหรือผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 99 ปี บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
3) แบบชั่วระยะเวลา คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียใชีวิตนระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
4) แบบ เงินได้ประจำ คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินงวดเท่า ๆ กัน ทุกเดือนให้แก่ผู้เอาประกันภัยขณะที่มีชีวิตอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี หรือตลอดชีพ

 หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย
1. การเปิดเผยข้อความจริงในการขอทำประกันชีวิต
หากผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยเมื่อครบกำหนด ชำระ บริษัทจะผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยให้อีก 30 หรือ 60 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือสัญญาเพิ่มเติมแต่ละแบบ ในระหว่างระยะเวลาผ่อนผันดังกล่าว ถ้าผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ กรมธรรม์หรือสัญญาเพิ่มเติมแต่ละแบบยังคงให้ความคุ้มครองดังกล่าว
2. การกู้ยืมเงินโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกัน
เมื่อ กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ และมีมูลค่าเงินสดผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอกู้เงินจากบริษัทและจำนวนเงินที่ ขอกู้ยืมนั้นจะไม่เกินมูลค่าเงินสด
3. การเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อขอรับเงินคืน
เมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยติดต่อกันเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ขึ้นไป กรมธรรม์จะมีมูลค่าเงินสดเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิของเวนคืนกรมธรรม์เพื่อรับเงินสดเท่ากับจำนวนเงินที่ ระบุในตาราง มูลค่าเวนคืนเงินสด ณ สิ้นปีกรมธรรม์นั้น ๆ
4. การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ
ถ้าผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งเบี้ยประกันติดต่อกันมาเป็น เวลา 2 ปา ขึ้นไปแล้ว และไม่ประสงค์ที่จะชำระเบี้ยประกันต่อไปอีก แต่ต้องการได้รับความคุ้มครองเท่ากับระยะเวลาเดิม บริษัทประกันชีวิตจะนำมูลค่าเงินสดของกรมธรรมืประกันชีวิตมาซื้อความคุ้ม ครอง โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่า กรมธรรม์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัยหรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
5. การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นการประกันภัยแบบขยายเวลา
ถ้าผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งเบี้ยประกันภัยติดต่อกันมา เป็นเวลา 2 ปี ขึ้นไปแล้ว และไม่ประสงค์ที่จะชำระเบี้ยประกันภัยต่อไปอีก แต่ต้องการได้รับความคุ้มครองในจำนวนเงินเอาประกันชีวิตเท่าเดิม บริษัทประกันชี่วิตจะนำมูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาซื้อความคุ้ม ครอง โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตภาย ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในตารางขยายเวลาท้ายกรมธรรม์บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอา ประกันชีวิตให้กับผู้รับประโยชน์ ถ้ามีจำนวนเงินเหลือปรากฏในตารางมูลค่าขยายเวลาที่แนบท้ายกรมธรรม์ และผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัยบริษัทก็จะคืนเงินที่เหลือให้ด้วย

หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย
1. การเปิดเผยข้อความจริงในการขอทำประกันชีวิต
การเปิดเผยข้อความจริงในขณะทำสัญญาประกันภัย จะทำให้กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับสมบูรณ์ บริษัทมี่สิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาได้
2. การชำระเบี้ยประกันภัย
การชำระเบี้ยประกันภัย จะทำให้กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับและได้รับความคุ้มครองตลอดจนสิทธิประโยชน์เต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัย
 3. การแจ้งการย้ายที่อยู่หรือการเปลี่ยนชื่อนามสกุล
การแจ้งการย้ายที่อยู่หรือการเปลี่ยนชื่อนามสกุลให้บริษัททราบเพื่อประโยชน์ในการที่บริษัทจะติดต่อผู้เอาประกันภัยได้ถูกต้อง

บริษัทจะปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีดังต่อไปนี้
1. การปกปิดข้อความจริงและแถลงข้อความเท็จ
การที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อความจริง ตลอดจนการแถลงข้อความที่เป็นเท็จในใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันชีวิต บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอา ประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาประกันภัย หรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย
2. ผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายโดยเจตนาภายใน 1 ปี
การฆ่าตัวตายโดยเจตนาภายใน 1 ปี ของผู้เอาประกันภัย นับแต่วันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ถือเป็นข้อยกเว้นการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามกฏหมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ฆ่าตัวตาย เพื่อหวังจำนวนเงินเอาประกันภัย
 3. ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยโดยเจตนา
ถือเป็นข้อยกเว้นการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามกฏหมาย เพราะบุคคลจะรับประโยชน์จากการทำผิดของตนไม่ได้ แต่ถ้ามีผู้รับประโยชน์มากกว่า 1 คน และไม่มีส่วนร่วมในการฆ่าผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ไม่มีส่วนในการฆ่าผู้เอาประกันภัยตามส่วน
4. การเสียชีวิตโดยธรรมชาติในระยะเวลารอคอย
กรมธรรม์ประกันภัยบางประเภทที่การชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือนมีจำนวนเงินเอประกันภัยาต่ำ และการรับประกันชีวิตไม่มีการตรวจสุขภาพผู้ขอเอาประกันภัย เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยจะมีระยะเวลารอคอย 180 วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตโดยธรรมชาติใน ช่วงระยะเวลารอคอย บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้วคืนให้ แต่ถ้าเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุบริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้
5. การปกปิดอายุจริงของผู้เอาประกันภัย อยู่นอกจำกัดอัตราทางการค้าปกติของบริษัท
หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่าในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย อายุที่ถูกต้องแท้จริงาของผู้เอาประกันภัยอยู่นอกจำกัดอัตราการค้าปกติแล้ว บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาประกันภัยได้[9]
หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 889 ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัย ความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง
มาตรา 890 จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น จะชำระเป็นเงินจำนวนเดียว หรือเป็นเงินรายปีก็ได้ สุดแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างคู่สัญญา
มาตรา 891 แม้ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์ เองก็ดีผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้ แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้ แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือ ไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น
          ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยได้ทำเป็นรูปให้ใช้เงินตามเขาสั่งแล้ว ท่าน ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 309 มาใช้บังคับ
มาตรา 892 ในกรณีบอกล้างสัญญาตามความใน มาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอา ประกันภัย หรือทายาทของผู้นั้น
มาตรา 893 การ ใช้เงินอาศัยเหตุความทรงชีพ หรือมรณะของ บุคคลผู้ใด แม้ได้แถลงอายุของบุคคลผู้นั้นได้คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ได้กำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัยไว้ต่ำไซร้ ท่านให้ลดจำนวน เงินอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้นั้นลงตามส่วน
         แต่ถ้าผู้รับประกันภัยพิสูจน์ได้ว่า ในขณะที่ทำสัญญานั้นอายุที่ ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราตามทางค้าปกติของเขาแล้ว ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา 894 ผู้ เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัย เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ด้วยการงดไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและ ได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปีไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัย ชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือรับกรมธรรม์ใช้ เงินสำเร็จจากผู้รับ ประกันภัย
มาตรา 895 เมื่อ ใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคล คนหนึ่งคนใดท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัย อันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่
1 บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่ง นับแต่วันทำสัญญา หรือ
2 บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาในกรณีที่ 2 นี้ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถ่ถอน
กรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น
มาตรา 896 มรณภัย เกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอก นั้นได้ไม่ แต่สิทธิของฝ่ายทายาทแห่งผู้มรณะ ในอันจะได้ค่าสินไหม ทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นหาสูญสิ้นไปด้วยไม่ แม้ทั้งจำนวนเงิน อันพึงจะใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นจะหวนกลับมาได้แก่ตนด้วย
มาตรา 897 ถ้า ผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนด ว่าเมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดย มิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ท่าน ให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันซึ่ง เจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้
                ถ้าได้เอาประกันภัยไว้ โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลใดบุคคล หนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้น จัดเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่ง กองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้

ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาประกันชีวิตกับสัญญาประกันวินาศภัย
    การ ประกันวินาศภัย และ การประกันชีวิตนั้น ตามกฎหมายเรียกกันโดยรวมว่า "การประกันภัย" ซึ่งปกติแล้วจะเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ ผู้เอาประกันภัย กับ ผู้รับประกันภัย โดยเป็นสัญยาต่างตอบแทน คือ ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือ ใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ หากเกิดวินาศภัยขึ้น หรือ มีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต ที่ระบุตกลงกันไว้ในสัญญาเกิดขึ้น ส่วนผู้เอาประกันภัยก็มีหน้าที่ต้องส่งเงินที่เรียกว่า เบี้ยประกัน ให้แก่ผู้รับประกันภัยด้วย
    จึงพอสรุปได้ว่า สัญญาประกันวินาศภัย ก็คือ  สัญญา ที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิด ขึ้นจากวินาศภัย ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์  ทั้ง นี้ ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงิน ค่าเบี้ยประกันภัยให้ เช่น การประกันภัยทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ โรงงาน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทรัพย์มีค่าต่างๆ ฯลฯ
      ส่วน สัญญาประกันชีวิต คือ สัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ได้ถูกเอาประกันชีวิต ได้ตายลง หรือเมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาตามที่ตกลงกันไว้ และผู้เอาประกันตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้ เช่น การทำประกันชีวิตแบบที่มีเงื่อนไขการใช้เงิน เมื่อผู้เอาประกัน หรือ ผู้ถูกเอาประกันชีวิต เสียชีวิต หรือ แบบสะสมทรัพย์ เมื่อผู้เอาประกัน หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิต มีชีวิตอยู่จนครบอายุสัญญา หรือ รวมกันทั้งสองแบบก้ได้ ถ้าหากว่ามีการเสียชีวิต หรือ อยู่จนครบอายุสัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันก็จะได้รับเงินตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้นั่นเอง[10]
Note:
1.รองศาสตราจารย์พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย, หน้า๑-๒
2. ศาตราจารย์ ไชยยศ เหมะรัชตะ, 108 ปัญหาประกันภัย
3. ผศ.ดร. ธานี  วรภัทร์, กฏหมายว่าด้วยประกันภัย, หน้า ๑๒-๑๓
4.รศ. พินิจ ทิพย์มณี, หลักกฏหมายประกันภัย, หน้า ๕
5. ผศ.ดร. ณัฐวัสส์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, คำอธิบายกฏหมายประกันภัย
6.ชีทสรุปโดย ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, กฏหมายเพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย, หน้า๔๓-๔๕
7.ชีทสรุปโดย ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, กฏหมายเพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย, หน้า๔๖
8.รองศาสตราจารย์พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย, หน้า๑๙๓
9. รองศาสตราจารย์พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย, หน้า๒0๗-๒0๘
10.ชีทสรุปโดย ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์, กฏหมายเพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย, หน้า๗๓